Merlin's Solutions International | DigialTransformationConsulting
227
bp-legacy,archive,tag,tag-digialtransformationconsulting,tag-227,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

DigialTransformationConsulting Tag

Generative AI: ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์และความแปลกใหม่

Generative AI 🤖 คือ นวัตกรรมล่าสุดในด้านปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ โดยไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลหรือกฎที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเหมือน AI แบบดั้งเดิม Generative AI ทำงานโดยการเรียนรู้รูปแบบและความสัมพันธ์ในข้อมูลเพื่อสร้างผลลัพธ์ใหม่ที่สมจริงและแตกต่างจากข้อมูลเดิม กระบวนการนี้รวมถึงการรวบรวมข้อมูล, การเลือกรูปแบบเช่น GAN หรือ VAE, การเทรนโมเดล, และการสร้างเนื้อหาใหม่ สิ่งที่ทำให้ Generative AI ต่างจาก AI แบบดั้งเดิมคือความสามารถในการสร้างความคิดสร้างสรรค์และเนื้อหาใหม่ๆ โดยอิสระ, มีความยืดหยุ่นสูง, และมักใช้การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน ตัวอย่างการใช้ Generative AI ที่น่าสนใจ ได้แก่ ChatGPT, Canva, และ Midjourney, ซึ่งเป็นการสาธิตการเปลี่ยนแปลงในโลกของ AI ที่สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์และความเป็นอิสระในการสร้างเนื้อหา, นำพาเราเข้าสู่อนาคตที่เทคโนโลยีสามารถปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ อย่างไม่สิ้นสุด...

Metaverse 🤖

Metaverse (เมตะเวิร์ส) คือการผสานระหว่างเทคโนโลยีแห่งโลกเสมือนและสร้างสิ่งแวดล้อมของโลกจริงๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้คนเข้ามามีบทบาทหรือทำกิจกรรมร่วมกันได้ เช่น การประชุม การเข้าร่วมสัมมนา การดูคอนเสิร์ต การเรียนหนังสือ ฯลฯ ที่มาของคำว่า Metaverse มาจากการนำคำว่า Meta แปลว่า อยู่เหนือจินตนาการ รวมกับคำว่า Verse ที่มาจากคำว่า Universe" ซึ่งแปลว่า จักรวาล รวมกันจึงแปลได้ว่า จักรวาลนฤมิตใน Metaverse นี้มีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อาทิ AR (Augmented Reality) VR (Virtual Reality) MR (Mixed Reality) และ XR (Extended Reality) เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยให้การสร้างสภาพแวดล้อมของโลกแห่งความจริงและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น 🔸AR คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาผสานโลกแห่งความจริงและวัตถุต่างๆ...

DevOps Ep.2 💻

DevSecOps เป็นแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นส่วนขยายมาจาก DevOps โดยเพิ่มเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนของการพัฒนาเพื่อให้ไม่มีช่องโหว่ให้เกิดภัยคุกคามมาโจมตีได้ ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากการพัฒนาซอฟต์แวร์มักพบปัญหาด้านความปลอดภัย การถูก Hack หรือถูกโจมตีอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำเป็นต้องใช้วิธีการพัฒนาที่คำนึงถึงด้านความปลอดภัย ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงแนวคิดของ DevSecOps รวมถึงประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ DevSecOps ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ DevSecOps คืออะไร? DevSecOps คือ วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีการรวมการพัฒนาและการรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกันในกระบวนการเดียวกัน โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์มีความปลอดภัยและสามารถตรวจสอบความปลอดภัยได้โดยอัตโนมัติตลอดกระบวนการพัฒนา ซึ่งหมายความว่าการคำนึงถึงด้านความปลอดภัยไม่เป็นเพียงการตรวจสอบเฉพาะในขั้นตอนท้ายของการพัฒนาเท่านั้น แต่จะต้องรวมเข้ากับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การออกแบบ การเขียน และการทดสอบ ไปจนถึงการดูแลระบบหลังการใช้งานจริงด้วย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบซอฟต์แวร์ขององค์กรมีความปลอดภัยอย่างเต็มที่ การใช้ DevSecOps ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างเดียว แต่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรในการพัฒนาและดูแลรักษาซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในระยะยาว DevSecOps มีประโยชน์อย่างไร? การประยุกต์ใช้ DevSecOps สามารถเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความเป็นมืออาชีพให้กับองค์กรในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีการประเมินความเสี่ยงของการโจมตีไซเบอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจถึง 5 ประโยชน์หลักที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ DevSecOps ในการพัฒนาซอฟต์แวร์  Improved security:...

DevOps Ep.1 💻

การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน โดยปกติแล้วจะมีทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ (Development) และทีมปฏิบัติการ (Operations) ทำงานเป็นกลุ่ม ๆ แยกกัน ส่งผลให้มีการสื่อสารระหว่างทั้งสองทีมยากขึ้น ซึ่งทำให้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ช้าลง และมีข้อผิดพลาดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรามักเรียกการทำงานแบบนี้ว่า Silo 💫 DevOps จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการนำทีมพัฒนา (Dev) และทีมปฏิบัติการ (Ops) มารวมกันในการทำงาน และใช้เครื่องมือและระบบอัตโนมัติเพื่อส่งเสริมการสื่อสารและการทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองทีม ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ไปพร้อมกับเพิ่มความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยในการทำงานให้เป็นไปโดยอัตโนมัติก็คือ CI/CD ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานตั้งแต่การ Plan, Code, Build, Test, Release, Deploy, Operate และ Monitor โดยทำให้ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถส่งมอบซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น โดยประกอบไปด้วย Continuous Integration (CI) ซึ่งเป็นการอัปเดตและรวบรวมโค้ดที่ถูกส่งมาจากสมาชิกในทีมพัฒนาให้เป็นเวอร์ชันเดียวกัน และ Continuous Delivery (CD) หรือ...

มาสร้าง EA อย่างยั่งยืนกันเถอะ

        EA คือเครื่องมือในการทำ Digital Transformation ขององค์กร ดังนั้น EA จึงต้องถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับยุทธศาสตร์การทำ Digital Transformation ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามบริบทขององค์กร วงจรการพัฒนา และใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กรต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ องค์กรต้องกำหนดให้มีการกำกับดูแล และบริหารจัดการการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร หรือ Enterprise Architecture Governance: EAG ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย แนวปฏิบัติ กระบวนการด้านการกำกับดูแล และบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร เอกสาร/แบบฟอร์ม และตัวชี้วัดการติดตามประเมินผล เพื่อให้คนภายในองค์กรใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านสถาปัตยกรรมองค์กรที่ชัดเจน และเกิดความยั่งยืน         EAG เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาและใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร โดย EAG ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ได้แก่ 🔸นโยบายการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร 🔸โครงสร้างการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร 🔸แนวปฏิบัติกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร และ 🔸กระบวนการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร    ...

การจัดทำ EA เพื่อสนับสนุนการทำ Digital Transformation จากมุมมองของผู้ปฏิบัติจริง

        บทความในครั้งนี้ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ การพัฒนา EA ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ องค์กรมีการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์กร (Digital Transformation) แต่แผนฯ ดังกล่าวอยู่ในรูปแบบของเอกสาร รายงาน ทำให้หลายหน่วยงานประสบปัญหาในการสื่อสาร และทำความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กร         Merlin’s ได้นำหลักการ EA มาจัดแผนภาพที่แสดงองค์ประกอบขององค์กร 4 ด้าน✳ ที่ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดิจิทัลในแต่ละยุทธศาสตร์ เพื่อใช้ในการสื่อสาร และทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้บริหาร หน่วยงาน และบุคลากรถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดิจิทัลให้บรรลุวัตถุประสงค์การสร้างบ้านต้องมีแบบบ้าน (Blueprint) การสร้างเทคโนโลยีดิจิทัลก็ต้องมีแบบในการสร้าง (EA) เช่นเดียวกัน (Blueprint = EA) ✳ รายละเอียดของ EA นำเสนอในบทความ Enterprise...

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Enterprise Architecture (EA FAQs) ⁉

คำถามที่ต้องการคำตอบ ในการทำ Enterprise Architecture (EA) ในมุมมองของผู้ที่เคยพัฒนา EA ให้กับหน่วยงาน ดังนี้ ❓ Q: ทำไมองค์กรต้องทำ EA? ✅ A: EA เป็นเครื่องมือในการนำเป้าหมายการพัฒนาองค์กรและธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มาจัดทำเป็นโครงรูปที่แสดงองค์ ประกอบ 4 ส่วน/กลุ่มที่เกี่ยวข้อง และใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อน ดำเนินการ และติดตามการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ❓ Q: องค์กรต้องเตรียมอะไรเพื่อจัดทำ EA? ✅ A: องค์กรต้องเตรียมข้อมูลอย่างน้อย ดังนี้                  1. Business Value Chain ขององค์กร เพื่อจัดทำกลุ่มกระบวนงาน หรือ Business Architecture    ...

Enterprise Architecture กับการทำ Digital Transformation

        ถ้าเราต้องการสร้างบ้านสถาปนิกจะนำเอาความต้องการของเจ้าของบ้านมาวาดเป็นแบบบ้าน หรือ Blueprint การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กรก็ต้องทำ Blueprint เช่นเดียวกัน โดยนำเอาเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และความต้องการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมาจัดทำ Enterprise Architecture หรือ EA เป็นหลักการจัดทำ Blueprint การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดย Blueprint แสดงองค์ประกอบที่สนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ โดยประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ กระบวนการทางธุรกิจ ข้อมูล แอปพลิเคชัน ระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีดิจิทัล ทุกองค์กรมีการกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการดิจิทัล หรือ Digital Roadmap         องค์กรควรประยุกต์ใช้หลักการ EA เพื่อถ่ายทอดองค์ประกอบขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับแผนฯ เพื่อให้ง่ายต่อการขับเคลื่อน และติดตามการดำเนินงานตามแผนฯ รวมทั้งใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กร EA...

Digital Transformation จาก “แนวคิด” สู่ “การปฏิบัติ”

จากบทความที่ผ่านมาทั้ง 3 บทความเกี่ยวกับการทำ Digital Transformation หรือ DT น่าจะทำให้องค์กรได้ภาพรวมครับว่าตกลงแล้ว DT คืออะไร? ทำไมองค์กรควรให้ความสนใจกับแนวคิดนี้? และถ้าสนใจที่จะทำ DT แล้วจะมีประเด็นสำคัญอะไรบ้างที่ควรให้ความสนใจ? จากทั้ง 3 บทความดังกล่าวก็นำมาสู่คำถามที่น่าจะสำคัญที่สุดคือ “แล้วจากแนวคิดทั้งหมดที่กล่าวมา องค์กรควรทำอย่างไรถ้าสนใจจะลงมือทำ DT จริงๆ?” เช่นเดิมครับ ก่อนอื่นเราไปดูตัวอย่างแนวคิดการนำ DT สู่การปฏิบัติจริงครับว่าองค์กรต่าง ๆ ที่ทำวิจัยเรื่องเหล่านี้มีข้อแนะนำอย่างไร แล้วเรามาวิเคราะห์กันครับว่าสรุปแล้วจากแนวคิดต่าง ๆ ที่พบ ตกลงแล้วองค์กรควรทำอย่างไรครับ . ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติ? จากที่ทราบกันจาก 3 บทความที่ผ่านมาว่าการทำ DT นั้นเกี่ยวข้องกับทั้งด้าน technical และ non-technical ขององค์กร ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่การทำ DT นั้นจะมีความสลับซับซ้อนในระดับที่องค์กรควรที่จะมีแผนการดำเนินงานและ/หรือ blueprint ที่สามารถใช้เป็นภาพรวมให้ทุกคนในองค์กรได้เห็นถึงทิศทางและกิจกรรมต่าง...

ประเด็นสำคัญของ Digital Transformation

       แล้วเราก็มาถึงบทความที่ 3 ซึ่งเป็นบทความสรุปเกี่ยวกับ Digital Transformation หรือ DT โดยหลังจากที่เรารู้กันละครับว่าหลัก ๆ แล้ว DT คือ “การที่องค์กรใช้ digital technologies เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายใน และ/หรือ ใช้เพื่อพัฒนาบริการหรือแม้แต่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับลูกค้า” และเหตุผลหลักที่ทำให้องค์กรต้องให้ความสนใจกับ DT ก็เพราะ “พฤติกรรมและความคาดหวังของทั้งภายในองค์กร และของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างมากจนแนวทางปฏิบัติเดิม ๆ ไม่สามารถตอบสนองได้” - ในบทความนี้ซึ่งเป็นบทความปิดท้ายของบทความสั้นเกี่ยวกับ DT เรามาดูกันครับว่า แล้วถ้าองค์กรสนใจที่จะปรับเปลี่ยนโดยใช้แนวคิดของเจ้า DT นี้จะมีประเด็นสำคัญ ๆ อะไรบ้างที่ควรจะรู้เพื่อให้การทำ DT ในองค์กรนั้นได้ผลตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ครับ .        อะไรคือประเด็นสำคัญสำหรับ DT? เช่นเดียวกับ 2...