Merlin's Solutions International | Artificial Intelligence
193
bp-legacy,archive,tag,tag-artificial-intelligence,tag-193,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

Artificial Intelligence Tag

Green AI EP. 7 🚛

มาถึง Ep. สุดท้ายสำหรับ Series Green AI แล้ว ในสัปดาห์ที่ผ่าน ๆ มาเราพูดถึงการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ และในภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่อุตสาหกรรมด้านพลังงาน อุตสาหกรรมการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต จะเห็นว่าแต่ละอุตสาหกรรมก็มีการประยุกต์ใช้ AI ที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้มีเหมาะสมกับตนเอง และใน Ep. สุดท้ายนี้เราจะนำเสนอการใช้ Green AI ในอุตสาหกรรมค้าปลีกและการขนส่งซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ ในอุตสาหกรรมปลายน้ำอย่างการค้าปลีก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้านั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการใช้ AI เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงเน้นไปที่การช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก จะเห็นได้จากตัวอย่างดังนี้ ลดระยะทางการขนส่งเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการขนส่งให้น้อยที่สุด ด้วยการใช้ AI ช่วยคำนวณเส้นทางในการขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายต่าง ๆ ให้มีความคุ้มค่าและระยะทางสั้นที่สุด ลดพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้ขนส่ง ด้วยการใช้ AI ช่วยให้ข้อเสนอแนะแบบ Real Time เช่น การเร่งความเร็วมากเกินไป การเบรกอย่างรุนแรง เพื่อให้ผู้ขนส่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งจะส่งผลต่อการใช้เชื้อเพลิง...

Green AI EP. 6 🏭

ใกล้จะจบกันแล้วสำหรับ Series Green AI ในสัปดาห์นี้มาถึงช่วงของอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งเป็นที่จับตามองกันอย่างมาก เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ไปจนถึงการผลิตขนาดใหญ่ เช่น การผลิตรถยนต์ ล้วนถือเป็นอุตสาหกรรมหนักที่มีการใช้พลังงานและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเป็นแนวทางที่ทำให้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน ในอุตสาหกรรมการผลิตสามารถนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากการผลิตมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่จำนวนมาก และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีแนวทางที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ลดกระบวนการหรือวัตถุดิบที่ไม่จำเป็น ด้วยการใช้ AI ช่วยวิเคราะห์คุณภาพของการผลิต โดยเปรียบเทียบปัจจัยนำเข้า (Input) กับผลลัพธ์ (Output) เพื่อให้เห็นถึงสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้ นั่นหมายถึงปริมาณ Carbon Footprint ที่เกิดขึ้นก็จะลดลงเช่นกัน เพิ่มการประหยัดพลังงานด้วยการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ ในธุรกิจผลิตรถยนต์รายใหญ่ ๆ นั้นมีการใช้ AI ในการออกแบบรถยนต์ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอากาศพลศาสตร์ น้ำหนักของรถ หรือความต้านทานของยาง เพื่อออกแบบรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานได้มากยิ่งขึ้น หรือลดการใช้ทรัพยากรการผลิตลง ซึ่งล้วนเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับการผลิต ด้วยการใช้...

Green AI EP. 5 🚜

จากที่เราได้นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียวในอุตสาหกรรมต้นน้ำกันไปแล้วอย่างอุตสาหกรรมด้านพลังงาน และด้านการเงิน ครั้งนี้เราจะพาทุกคนเข้าสู่ภาคการเกษตรกันบ้าง โดย AI นั้นถูกนำมาใช้ในการแข่งขันด้านการผลิตเป็นระยะเวลานานแล้ว เพื่อให้เข้ากับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศการเกษตร ครั้งนี้เราจะนำเสนอการใช้ AI เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในฝั่งเกษตรกรรมกันบ้าง ในภาคการเกษตรปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตคือสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศ จึงมีการนำ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิต หรือลดความเสียหายทางการเกษตร และไม่เพียงมีบทบาทแค่ช่วยรับมือกับสภาพอากาศเท่านั้น AI สามารถเข้ามาช่วยในด้านสิ่งแวดล้อมนี้ได้เช่นกัน โดยจากงานวิจัยของสหภาพยุโรประบุว่าการทำเกษตรกรรมนั้นมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนถึง 10% นอกจากนั้นยังพบการก่อมลพิษจากวัตถุดิบที่ใช้อีกด้วย ดังนั้นในหลายภาคการเกษตรจึงมีความคิดในการใช้ AI เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเช่นตัวอย่างต่อไปนี้ 🍍 ลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ด้วยการใช้ AI ประมวลผลภาพที่ได้จาก Drone ในการระบุถึงตำแหน่งและรูปแบบการกระจายตัวของวัชพืช เพื่อจำกัดขอบเขตการใช้สารเคมีในการกำจัดได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้สามารถลดการใช้สารเคมีซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมลงได้อย่างมากทีเดียว 🍍 ลดการปล่อยมลพิษที่เกิดจากการเพาะปลูกสู่สิ่งแวดล้อม โดยให้ AI วิเคราะห์จำนวนผลผลิตที่ต้องการ และคำนวณการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดการตกค้างของก๊าซไนโตรเจนในดินได้ 🍍 ลดการใช้พลังงานในการเพาะปลูกด้วยการคำนวณการใช้ปัจจัยการเพาะปลูกอย่างคุ้มค่า โดยการใช้ AI วิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มของสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้พลังงานเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็น เช่น...

Green AI EP. 4 🌍

Green AI Ep. ที่ 4 นี้เราจะพูดถึงการใช้ AI ในธุรกิจด้านการเงินกันบ้าง เมื่อนึกถึงการเงินนั้นธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดคงไม่พ้นธุรกิจธนาคาร ซึ่งหลายคนคงทราบแล้วว่าธุรกิจธนาคารมีการใช้ AI ในหลายด้าน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุน หรือการตรวจสอบธุรกรรมผิดปกติ แต่เมื่อพูดถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคำถามที่ตามมาคือในองค์กรด้านการเงินการธนาคารสามารถช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ทางไหนบ้าง และจะสามารถใช้ AI เข้ามาช่วยเสริมได้อย่างไร เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นมีกระบวนการ หรือการประมวลข้อมูลซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในธุรกิจด้านการเงินจึงมีแนวคิดการใช้ AI สำหรับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเน้นไปที่การปรับใช้และสนับสนุนโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอน และส่งเสริมให้ผู้ผลิตรายต่าง ๆ หาวิธีการลดการปล่อยคาร์บอนจากผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น 🌱 การใช้ AI วิเคราะห์และแสดงข้อมูลการปล่อยคาร์บอนของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อสนับสนุนในการตัดสินใจซื้อ-ขายของผู้ที่ต้องการลงทุน โดย AI จะวิเคราะห์ปริมาณ Carbon Footprint ที่เกิดขึ้นของแต่ละผลิตภัณฑ์ และแสดงผลผ่านแอปพลิเคชันให้ผู้ลงทุนเห็น ผู้ลงทุนที่ต้องการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะสามารถเลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่สร้าง Carbon Footprint น้อยได้ 🌱 คำนวณหลักประกันจากปริมาณการปล่อยคาร์บอน โดยในบางสถาบันการเงินเริ่มมีการใช้ AI...

Green AI EP. 3 🌵

ใน Green AI Ep.2 ราได้พูดถึงการใช้ AI เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับประเทศกันไปแล้ว โดยการประยุกต์ใช้ในระดับประเทศจะเน้นไปในแนวทางของการกำหนดนโยบาย การนำกลยุทธ์มาปรับใช้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในประเทศ ครั้งนี้เราจะพูดถึงการใช้ Green AI ที่ใกล้ตัวเราเข้ามาอีกหน่อย นั่นคือการใช้ในภาคธุรกิจนั่นเอง ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ คาดการณ์ AI จึงถูกนำมาใช้เพื่อการแข่งขันในธุรกิจอย่างแพร่หลายตั้งแต่ธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำไปจนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ แต่นอกจากการแข่งขันแล้วในอุตสาหกรรม AI มีบทบาทในการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างไรได้บ้างนะ? ในทุก ๆ อุตสาหกรรมนั้นมีการใช้พลังงานปริมาณมหาศาลเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถเดินหน้าไปได้ หลายอุตสาหกรรมจึงเริ่มมีการนำพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม มาใช้ทดแทนพลังงานอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนนั้นคิดเป็น 30% ของพลังงานที่ผลิตได้ทั่วโลก นอกจากการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว ในระบบสาธารณูปโภคด้านพลังงานยังสามารถช่วยลดผลกระทบจากการใช้พลังงานที่มากเกินไปได้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบควบคุมพลังงานอีกด้วย ตัวอย่างการใช้ AI ในอุตสาหกรรม เช่น 🍀 การใช้ AI วิเคราะห์แนวโน้มการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ มุมของการเกิดเงาจากสิ่งก่อสร้างหรือต้นไม้ในแต่ละช่วงเวลา ทำให้ AI สามารถควบคุมมุมรับแสงของแผงโซลาร์เซลล์ให้หันไปในทิศทางที่เหมาะสม...

Green AI EP. 2 🌿

🌷 ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้รู้จักกับตัวอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีสีเขียวที่มีการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาประยุกต์ใช้ หรือที่เรียกว่า Green AI ซึ่งนอกจาก AI จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเราอีกต่อไปแล้วนั้น ยังมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหรือชีวิตประจำวันได้อย่างหลากหลายอีกด้วย และไม่เพียงแค่ภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น ภาครัฐก็สามารถนำเทคโนโลยี Green AI มาใช้ได้เช่นกัน สัปดาห์นี้เราจะนำตัวอย่างของ Green AI ที่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อบริหารจัดการมาให้ทุกคนได้ดูกัน ในระดับประเทศนั้นมีการใช้ความสามารถของ AI ร่วมกับความสามารถของ IoT (Internet of Things) ด้วยการใช้เซ็นเซอร์ในการเป็นข้อมูลความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่และช่วงเวลา ซึ่งจะทำให้ทราบถึงข้อมูลการเติบโตของประชากร ข้อมูลกิจกรรมของมนุษย์ หรือภาพถ่ายจากดาวเทียมก็จะทำให้ทราบถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ AI ประมวลผล คาดการณ์แนวโน้มต่าง ๆ และใช้ในการวางแผน กำหนด หรือปรับเปลี่ยนนโยบาย เช่น 🍁 ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างแม่นยำ โดยคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต โดยใช้การสร้างแบบจำลองของโลกที่เรียกว่า Digital Twin Earth...

Green AI 🌿

🍃ใน Topic ก่อน ๆ เราได้พูดถึง Green IT หรือเทคโนโลยีสีเขียวกันไปแล้ว เราจะได้เห็นว่า Green IT นั้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมาก จนแทบจะกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทุกองค์กรต้องนำมาใช้ในการดำเนินงาน รวมกับปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ มีความก้าวหน้าไปมากก็ยิ่งเป็นส่วนส่งเสริมให้ Green IT มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ซึ่งเป็นการเขียนอัลกอริทึมให้คอมพิวเตอร์มีความอัจฉริยะจนสามารถวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้จากข้อมูลปริมาณมาก ๆ ได้ 🍃 ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปี เป็นช่วงที่แนวคิด AI เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นใหม่ หลายต่างมองว่า AI จะเป็นจริงได้หรือไม่ หรือ AI จะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งมีความกังวลถึงโทษที่อาจจะตามมา จนมาถึงในปัจจุบันคำว่า AI ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวยิ่งขึ้น หลายองค์กรสามารถนำ...

ภาพบรรยากาศงาน Workshop MEA Digital 2020

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทางการไฟฟ้านครหลวง จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งภายในงานได้มีการกล่าวปาฐกถาพิเศษ จาก นายวันชัย เจียรวัฒนาวิทย์ รองผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศฯ เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ และแนวทางการปรับตัวเป็น "MEA Digital 2020" ทั้งในด้านการให้บริการ บุคลากร และองค์กรแบบ Digital ทั้งนี้ในงาน ดร.จิรพันธ์ แดงเดช CTO ของบริษัท เมอร์ลินส์ฯ ได้รับเชิญเป็นวิทยากร เพื่อให้ความรู้เรื่องของ Artificial Intelligence and Digital Transformation ร่วมด้วย ทางบริษัท เมอร์ลินส์ฯ ขอขอบคุณ การไฟฟ้านครหลวง ที่ให้เกียรติกับทางบริษัทร่วมเป็นวิทยากรในครั้งนี้ [layerslider id="7"]...

งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ แนวคิดและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำ Digital Transformation ขององค์กร ให้กับ การไฟฟ้านครหลวง

เมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา บริษัท เมอร์ลินส์ โซลูชั่นส์ อินเตอร์แนชันนัล จำกัด ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ แนวคิดและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำ Digital Transformation ขององค์กร ให้กับ การไฟฟ้านครหลวง โดย ดร.จิรพันธ์ แดงเดช CTO ของบริษัท เมอร์ลินส์ฯ ได้ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ Digital Transformation ซึ่งประกอบไปด้วยหัวข้อ - Digital Transformation จริงๆแล้วคืออะไร - ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อการทำ Digital Transformation - Machine learning / Artificial Intelligence คืออะไร และ กิจกรรม Workshop ระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพภารกิจที่มีในปัจจุบัน ทั้งนี้ ทางบริษัท เมอร์ลินส์ฯ ขอขอบคุณ...

AI และ Data Analytics

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัลหลาย ๆ องค์กรเริ่มปรับเปลี่ยนกลยุทธหรือรูปแบบในการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการตอบสนองต่อองค์กรและธุรกิจมากยิ่งขึ้น คำว่า AI และ Data Analytics ได้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน ถึงแม้ว่า AI และ Data Analytics จะถูกพูดถึงและถูกตีความแตกต่างกันออกไปก็ตาม จากรูปข้างต้นจะแสดงกรอบการทำงานพื้นฐานของ AI และ Data Analytics โดยขั้นตอนแรกจะเริ่มจาก การรวบรวมข้อมูล หรือปัญหาขององค์กร เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ให้ตรงกับ Business Unit ของแต่ละองค์กร จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์มาจำแนกกลุ่มของข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การจำแนกประเภทข้อมูล (Classification) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากข้อมูลที่มีการกำหนดตัวแปรที่เป็นเป้าหมายของการแบ่งกลุ่ม ตัวอย่างเช่น เพศ น้ำหนัก และส่วนสูง เป็นต้น แต่การแบ่งกลุ่มของข้อมูล (Clustering)...