Merlin's Solutions International | Home
18
bp-legacy,blog,paged,paged-4,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

Home

IT Governance (ธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศ)

IT Governance (ธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศ)       ปัจจุบันการปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นสิ่งจำเป็นของทุกๆองค์กร เพื่อให้ธุรกิจมีความคล่องตัว และสามารถแข่งขันได้ในสภาพแวดล้อมที่ลูกค้าต้องการความสะดวกรวดเร็วและบริการที่ดีเยี่ยม โดยการปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลนั้น องค์กรต้องพิจารณาทำความเข้าใจความคุ้มค่า/ผลตอบแทนของการลงทุน ต้องมีกลยุทธ์ทั้งด้านธุรกิจและด้านเทคโนโลยีชัดเจนที่ขับเคลื่อนองค์กร ต้องพิจารณาเข้าใจความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) รวมถึงต้องบริหารจัดการเรื่องปรับเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วเหมาะสมตามสถานการณ์ ซึ่งการกำกับบริหารจัดการในประเด็นต่างๆเหล่านั้น องค์กรต้องมีแนวทางของธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมสอดรับกับบริบทของแต่ละองค์กร จึงจะทำให้การปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีความยั่งยืนและขับเคลื่อนธุรกิจได้ตามยุทธศาสตร์และมุ่งสู่เป้าหมายที่กำหนด COBIT-2019 เป็นกรอบแนวทางที่นำแนวปฏิบัติที่ดีของการธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละองค์กร COBIT-2019 ชัดเจนในทุกประเด็นและเป้าประสงค์ของความจำเป็นการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน อาทิ APO05-Managed Portfolio เป็นการบริหารการลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์องค์กรและสร้างความคุ้มค่าที่วัดผลได้ APO13-Managed Security เป็นการบริหารความมั่นคงปลอดภัยในองค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ต่อเนื่อง โดย COBIT-2019 ครอบคลุมทุกระดับของวงรอบตั้งแต่ระดับการกำกับดูแลโดยคณะกรรมการฯ (EDM – Evaluate, Direct and Monitor) การวางแผนและการบริหารจัดการ (APO -...

โปรแกรม Chat ที่กำลังเป็นที่พูดถึง ณ ขณะนี้

     ผลจากที่ลองโปรแกรม Chat ที่กำลังเป็นที่พูดถึงเยอะๆขณะนี้ ต้องบอกว่าแจ่มมมมมครับ ถามอะไรตอบยาวปรี๊ดด จนต้องบอกว่า Short Please (ที่น่าสนใจคือ พอบอก Short ก็อธิบายแบบสั้นได้ด้วย!!) ข้อสังเกตของผมเกี่ยวกับระบบแจ่มๆนี้คือ           1. ระบบยังตอบแบบทั่วไป เช่น ผมถามว่า “ทำไงจะให้ไทยกลายเป็น Developed Country” สิ่งที่ระบบตอบมาเป็นคำตอบทั่วไป สามารถใช้ได้กับทุกประเทศ           2. พอผมถามถึง Reference หรือ ข้ออ้างอิงที่ทำไมระบบคิดให้คำตอบแบบนั้นระบบตอบไม่ได้ บอกแค่ว่าเค้าเรียนรู้เฉพาะ General Knowledge มาคำตอบก็เลยค่อนข้าง abstract จะว่าไปแล้วประเด็นนี้ทำให้ย้ำด้วยครับว่าปัญหาการพัฒนาระบบให้มีความสามารถในการ Reasoning นั้นยังอยู่ครับ...

การบรรยาย หัวข้อ “Strategic Technology Trends and AI” ในวันที่ 6 กันยายน 2565

การบรรยาย หัวข้อ "Strategic Technology Trends and AI" ในวันที่ 6 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา         บริษัท Merlin ขอขอบคุณผู้บริหารและพนักงานส่วนงานในสำนักงานใหญ่ ธ.ก.ส. ที่เข้าร่วมกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ "Strategic Technolosy Trends and AI" โดย ผศ. ดร. จิรพันธ์ แดงเดช CTO บริษัท Merlin's Solutions International ณ ห้องประชุม ชั้น 24 อาคารทาวเวอร์ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ ซึ่งภายในงานท่านผู้บริหารได้ให้เกียรติแลกเปลี่ยนมุมมองด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาและนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์...

Hyperautomation EP.4 AI เกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation รวมถึง Prescriptive Analytics ?

AI เกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation รวมถึง Prescriptive Analytics ?    จากบทความก่อนหน้าเราคุยกันว่าทำไมองค์กรควรให้ความสนใจกับ Hyperautomation หรือแนวคิดการให้บริการแบบอัตโนมัติที่พยายามรวบรวมแนวคิดและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาร่วมกัน ทำงานสอดประสานกัน เพื่อการให้บริการแบบอัตโนมัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และระดับการทำอัตโนมัตินั้นมีมากน้อยขนาดไหน ในบทความนี้เราจะซูมเข้าไปและตอบคำถามสำคัญต่อจากบทความก่อนครับว่า 1. แล้ว AI มาเกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation? 2. ถ้าแนวคิดการทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เราทราบมานั้นมี 4 ระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับสูงสุดที่เรียกว่า Prescriptive Analytics (What should we do next?) นั้น AI มาช่วยอย่างไร? AI มาเกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation? เรามาย้อนไปที่นิยามกันนิดนึงครับ นิยามของ AI นั้นมีเป็นร้อยครับ แต่มีเยอะแค่ไหนนิยามเหล่านั้นมีส่วนที่คล้ายกันก็คือว่า Artificial Intelligence หรือ AI คือแนวคิดการพัฒนาระบบที่พยายาม...

Hyperautomation EP. 3 ระดับการทำงานแบบ Hyperautomation

แล้ว “ระดับการทำงานแบบอัตโนมัติ” เกี่ยวข้องกับ “ระดับของการวิเคราะห์ข้อมูล” อย่างไร? โดยทั่วไปแล้วหนึ่งในความรู้หลักในการทำ Automation ในลักษณะนี้คงไม่พ้นการ “วิเคราะห์ข้อมูล” ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบที่นักสถิติใช้กันหรือใครจะเรียกว่า Machine Learning ก็ตาม ถ้าเราพูดถึงระดับของการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งโดยปรกติแล้วแบ่งเป็นระดับได้ 4 ระดับคือ 1. Descriptive Analytics (What happened?) 2. Diagnostic Analytics (Why did this happen?) 3. Predictive Analytics (What might happen in the future?) 4. Prescriptive Analytics (What should we do next?) จากระดับของการวิเคราะห์ทั้ง 4 ข้างต้นจะพบว่าการวิเคราะห์และความคาดหวังของแต่ละระดับจะเพิ่มขึ้นตามลำดับจากการที่แค่อยากรู้ว่า “เกิดอะไรขึ้น” ไปจนถึงขั้นสูงสุดที่เป้าหมายของการวิเคราะห์คืออยากจะรู้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้อง “ควรทำอะไรต่อจากนี้”...

Hyperautomation EP.2 ระดับของการทำงานแบบอัตโนมัติและเป้าหมายในภาพรวมของ Hyperautomation

Hyperautomation EP.2 ระดับของการทำงานแบบอัตโนมัติและเป้าหมายในภาพรวมของ Hyperautomation         ในภาพรวมแล้วคำว่า Hyperautomation คือแนวคิดของการทำ automation ในองค์กรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเป็นการใช้หลากหลายแนวคิดหรือเทคโนโลยีมารวมเข้าด้วยกันทำงานร่วมกันประสานกัน ซึ่งแนวทางการใช้สิ่งต่างๆมาร่วมกันพัฒนานี้ถูกนำไปอธิบายในหลายๆบทความว่าเป็นการ Orchestrated Use of Technologies and Concepts หรือการทำงานที่สอดประสานกันของเทคโนโลยี จากหลายๆบทความพอสรุปได้ว่าระดับของการทำ Hyperautomation มีตั้งแต่การ จำเพาะเจาะจงไปที่การทำ Automation ของ Process การทำงานในองค์กร ไปจนถึงการพัฒนาระบบอัตโนมัติแบบ 360 องศาทำทุกอย่างที่ทำได้ให้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติให้หมด และถ้าเอาแนวคิดนี้มาใช้กับการให้ “บริการลูกค้า” นั่นก็จะหมายถึงการใช้บริการแบบ End-to-End หรือจะเลยไปถึง 360 องศาแบบอัตโนมัติ กล่าวคือจะไม่ใช่แค่การให้บริการใดบริการหนึ่งแล้วเสร็จ เช่น ระบบการลางานของพนักงานก็ไม่ใช่แค่เสร็จที่การส่งข้อความลาเท่านั้น แต่รวมไปถึงการให้บริการจองหมอที่พนักงานจะไปพบ พบแล้วก็ทำเรื่องเบิกกลับมาที่องค์กร รวมถึงการลงกลุ่มโรคที่พนักงานเป็นเพื่อให้ฝ่ายบุคคลได้มีข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ต่อไปว่าพนักงานส่วนใหญ่ป่วยเป็นอะไร ช่วงไหน...

งานสัมมนา Explainable AI (XAI)

 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 บริษัท Merlin’s Solutions International เชิญชวน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ ผู้ที่สนใจ เข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ “Explainable AI” โดย ผศ.ดร.จิรพันธ์ แดงเดช CTO ของบริษัท เมอร์ลินส์ฯ เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางของการพัฒนาระบบ Explainable AI ในองค์กรอย่างยั่งยืน  มารวมกันหาคำตอบว่า Explainable AI คืออะไร แล้วเหตุใดธุรกิจส่วนใหญ่จึงให้ความสนใจและต้องการนำความสามารถนี้ โดยสามารถรับชมความสนุกย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=v5L37eh-swQ&t=1740s ☎ สนใจข้อมูล/บริการเพิ่มเติมติดต่อ 022477229 ✉ e-Mail : sm@merlinssolutions.com ...

เรื่องเข้าใจผิดที่คนทำสถาปัตยกรรมองค์กร (EA) ต้องรู้❗EP.3

                  ❓ MYTH: การทำ EA คือ Enterprise IS/IT Architecture ✅ REALITY: การทำ EA ต้องมีการกำกับดูแลที่ดี และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนขององค์กร 🟧 SUSTAINABILITY: EA Governance เป็นการกำกับดูแลกระบวนการพัฒนา ต่อยอด และใช้งาน EA ให้เป็นปัจจุบันและยั่งยืน For more information 📞 Tel: 02-247-7229 📧 email: sm@merlinssolutions.com...

งานประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดกระบวนการวิเคราะห์และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรในอนาคต (To-Be Enterprise Architecture) ครั้งที่ 1

 งานประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดกระบวนการวิเคราะห์และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรในอนาคต (To-Be Enterprise Architecture) ครั้งที่ 1 เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2565 บริษัท เมอร์ลินส์ โซลูชั่นส์ อินเตอร์แนชั่นนัล จำกัด ร่วมกับ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดกระบวนการวิเคราะห์และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรในอนาคต (To-Be Enterprise Architecture) ครั้งที่ 1 เพื่อให้คณะทำงานได้รับทราบถึงความพร้อมและสถานะของการพัฒนาชุมชนต่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร โดยมีผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน นายสุธีธ์ มั่งมี ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุมและเน้นย้ำข้อสั่งการของอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนในการขับเคลื่อนสถาปัตยกรรมองค์กรของกรมการพัฒนาชุมชนเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนกรมการพัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป [layerslider id="15"]   สนใจข้อมูล/บริการเพิ่มเติมติดต่อ 022477229   e-Mail : sm@merlinssolutions.com ...