Merlin's Solutions International | บทความ
3
bp-legacy,archive,paged,category,category-articles,category-3,paged-5,category-paged-5,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

บทความ

AI: The Series “Explainable AI” ภาพรวมของ Algorithms ต่าง ๆ ที่มีในปัจจุบันและประเด็นที่น่าสนใจ

"Explainable AI" ภาพรวมของ Algorithms ต่าง ๆ ที่มีในปัจจุบันและประเด็นที่น่าสนใจ 1. ทำไมถึงเอาทั้ง Explainability และ Accuracy ไม่ได้?             ปัจจุบันยังไม่มี ML Algorithm ไหนที่ให้ได้ทั้งความสามารถด้าน Explainability และ Accuracy ได้ในเวลาเดียวกัน เพราะเวลาที่เรา “อธิบาย”จะใช้สิ่งที่มองได้ว่าเป็น “Attribute” ในประโยค เช่น “ลูกค้าไม่ผ่านสินเชื่อเพราะรายได้เมื่อเทียบกับหนี้สินแล้วไม่ผ่านเกณฑ์” ในคำอธิบายนี้มี Attribute ที่น่าสนใจคือ “รายได้” และ “หนี้สิน” ซึ่ง ML ที่ใช้ข้อมูลที่มี attribute ที่คนเข้าใจได้ลักษณะนี้สามารถอธิบายได้ แต่ ML เช่น...

Explainable AI

        ระบบ AI แฝงอยู่ในหลายระบบที่เราใช้งานตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนเข้านอน เช่น เริ่มตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเราคว้า Social Media ขึ้นมาดูว่ามีประเด็นอะไรน่าสนใจในวันนี้ ระบบ Social Media เกือบทุกระบบมีการนำ AI algorithms มาใช้ เราขับรถไปทำงานด้วยการนำทางของ Maps ระบบการตรวจสอบใบหน้าก่อนเข้าไปที่ทำงานหรืออาคารต่าง ๆ Software ทั่ว ๆ ไปที่เราใช้สร้าง/อ่านเอกสารในขณะที่ทำงาน ไปจนถึงถ้าใครทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในสถาบันการเงินก็อาจมีระบบช่วยในการตัดสินใจที่จะอนุมัติ/ปฏิเสธ Application ต่าง ๆ ระบบ AI ที่ช่วยตรวจจับการทุจริต ถ้าเป็นคุณหมอก็อาจมีระบบที่ช่วยในการพิจารณาฟิล์ม X-Ray เป็นต้น       ลองนึกเล่น ๆ ครับว่าเราใช้งานระบบ ๆหนึ่ง แล้วระบบเสนอคำตอบหรือแนะนำอะไรมา ในบาง...

Ecosystem ที่ระบบ AI ต้องการ

        โดยทั่วไปแล้ว ecosystem ในองค์กรนั้นประกอบไปด้วยสิ่งที่จับต้องได้และไม่ได้ การจัดกลุ่มของส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถจัดกลุ่มได้หลายรูปแบบอยู่ที่ Framework หรือมุมมองไหนจะเน้นเรื่องอะไร จากแนวคิดของ Enterprise Architecture (EA) เราก็จะได้ว่าองค์ประกอบหลัก ๆ ของ Ecosystem ขององค์กรนั้นประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คือ วิสัยทัศน์ขององค์กร ส่วนประกอบด้านธุรกิจ ด้านข้อมูล ด้านระบบสารสนเทศ และด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงระบบพื้นฐานขององค์กร จากบทความที่ผ่านมาที่กล่าวถึงความ AI และ EA บทความนี้เรามาเจาะลึกเข้าไปใน Ecosystem ขององค์กรโดยใช้ EA เป็นกรอบแนวคิดกันครับ         Strategic – จาก Vision...

AI กับ Digital Transformation

        การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกับธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการที่ความสามารถในการรอรับสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคที่ลดลงอย่างมาก ต้องการอะไร อยากได้อะไรต้องได้ทันที หรือถ้าจะต้องรอการให้บริการก็ต้องการที่จะรู้ตลอดเวลาว่าสิ่งที่ตนต้องการนั้นได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้วอย่างไร การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่นำไปสู่กระแสการนำแนวคิดของการทำ Digital Transformation หรือการใช้เทคโนโลยี Digital มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้า/บริการที่มีอยู่ของธุรกิจ ไปจนถึงออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนโดยการใช้เทคโนโลยี Digital โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีและระบบที่ทำงานหรือให้บริการลูกค้าได้อย่างอัตโนมัติในลักษณะที่ใกล้เคียงกับคำว่า Anytime Anywhere มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากความต้องการดังกล่าวที่ต้องการการทำงานแบบอัตโนมัติให้มากที่สุด และถ้าเป็นไปได้ให้บริการ 24 ชั่วโมง จึงทำให้การนำเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) มาใช้กับ Digital Transformation หรือการปรับปรุง/พัฒนา สินค้าและบริการใหม่นั้นถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้การวิจัยจำนวนมากที่เกิดขึ้นทั่วโลกก็ได้ยืนยันไปในทางเดียวกันว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจทั่วโลกของการมาของ AI นั้นสูงมาก ๆ ตัวอย่างเช่น The Wall Street Journal คาดการณ์ว่าจากวันนี้ถึงปี คศ....

AI The Series ตอน “สารพัดคำศัพท์”

        ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าดูเหมือนว่าสินค้า/บริการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดที่เรียกว่า Artificial Intelligence หรือ AI จะมีอยู่รอบตัวเราตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน วันนี้สินค้า/บริการเกือบทุกอย่างตั้งแต่ อุปกรณ์ต่างๆในรถยนต์ กล้อง แฟลช เครื่องซักผ้า พัดลม เครื่องปรับอากาศ แม้กระทั่งอุปกรณ์ทำครัวต่างๆ และแน่นอนการให้บริการอัตโนมัติหลากหลายรูปแบบในปัจจุบันล้วนจะเคลมว่ามี AI อยู่ภายในทั้งสิ้น ซึ่งนั่นสำหรับผู้บริหารธุรกิจหรือองค์กรแล้วหมายถึงการที่จำเป็นจะต้องเข้าใจ อย่างน้อยในภาพกว้างว่าเจ้า AI หรือคำศัพท์ที่นิยมใช้ต่างๆเช่น Machine Learning หรือแม้แต่คำว่า Algorithms (และอีกหลากหลายคำ) นั้นคืออะไรกันแน่? แล้วถ้าองค์กรหรือธุรกิจจะเอา AI มาใช้ในการพัฒนาสินค้า/บริการจะต้องเตรียมตัวอย่างไร? AI กับ Enterprise Architecture มีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไร? AI ใน IT/OT รวมไปถึง ในการวางแผนบริการ/สินค้า ต้องทำอย่างไร?...

มาสร้าง EA อย่างยั่งยืนกันเถอะ

        EA คือเครื่องมือในการทำ Digital Transformation ขององค์กร ดังนั้น EA จึงต้องถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับยุทธศาสตร์การทำ Digital Transformation ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามบริบทขององค์กร วงจรการพัฒนา และใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กรต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ องค์กรต้องกำหนดให้มีการกำกับดูแล และบริหารจัดการการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร หรือ Enterprise Architecture Governance: EAG ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย แนวปฏิบัติ กระบวนการด้านการกำกับดูแล และบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร เอกสาร/แบบฟอร์ม และตัวชี้วัดการติดตามประเมินผล เพื่อให้คนภายในองค์กรใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านสถาปัตยกรรมองค์กรที่ชัดเจน และเกิดความยั่งยืน         EAG เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาและใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร โดย EAG ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ได้แก่ 🔸นโยบายการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร 🔸โครงสร้างการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร 🔸แนวปฏิบัติกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร และ 🔸กระบวนการกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร    ...

การจัดทำ EA เพื่อสนับสนุนการทำ Digital Transformation จากมุมมองของผู้ปฏิบัติจริง

        บทความในครั้งนี้ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ การพัฒนา EA ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ องค์กรมีการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์กร (Digital Transformation) แต่แผนฯ ดังกล่าวอยู่ในรูปแบบของเอกสาร รายงาน ทำให้หลายหน่วยงานประสบปัญหาในการสื่อสาร และทำความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กร         Merlin’s ได้นำหลักการ EA มาจัดแผนภาพที่แสดงองค์ประกอบขององค์กร 4 ด้าน✳ ที่ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดิจิทัลในแต่ละยุทธศาสตร์ เพื่อใช้ในการสื่อสาร และทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้บริหาร หน่วยงาน และบุคลากรถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดิจิทัลให้บรรลุวัตถุประสงค์การสร้างบ้านต้องมีแบบบ้าน (Blueprint) การสร้างเทคโนโลยีดิจิทัลก็ต้องมีแบบในการสร้าง (EA) เช่นเดียวกัน (Blueprint = EA) ✳ รายละเอียดของ EA นำเสนอในบทความ Enterprise...

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Enterprise Architecture (EA FAQs) ⁉

คำถามที่ต้องการคำตอบ ในการทำ Enterprise Architecture (EA) ในมุมมองของผู้ที่เคยพัฒนา EA ให้กับหน่วยงาน ดังนี้ ❓ Q: ทำไมองค์กรต้องทำ EA? ✅ A: EA เป็นเครื่องมือในการนำเป้าหมายการพัฒนาองค์กรและธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มาจัดทำเป็นโครงรูปที่แสดงองค์ ประกอบ 4 ส่วน/กลุ่มที่เกี่ยวข้อง และใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อน ดำเนินการ และติดตามการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ❓ Q: องค์กรต้องเตรียมอะไรเพื่อจัดทำ EA? ✅ A: องค์กรต้องเตรียมข้อมูลอย่างน้อย ดังนี้                  1. Business Value Chain ขององค์กร เพื่อจัดทำกลุ่มกระบวนงาน หรือ Business Architecture    ...

Enterprise Architecture กับการทำ Digital Transformation

        ถ้าเราต้องการสร้างบ้านสถาปนิกจะนำเอาความต้องการของเจ้าของบ้านมาวาดเป็นแบบบ้าน หรือ Blueprint การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กรก็ต้องทำ Blueprint เช่นเดียวกัน โดยนำเอาเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และความต้องการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมาจัดทำ Enterprise Architecture หรือ EA เป็นหลักการจัดทำ Blueprint การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดย Blueprint แสดงองค์ประกอบที่สนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ โดยประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ กระบวนการทางธุรกิจ ข้อมูล แอปพลิเคชัน ระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีดิจิทัล ทุกองค์กรมีการกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการดิจิทัล หรือ Digital Roadmap         องค์กรควรประยุกต์ใช้หลักการ EA เพื่อถ่ายทอดองค์ประกอบขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับแผนฯ เพื่อให้ง่ายต่อการขับเคลื่อน และติดตามการดำเนินงานตามแผนฯ รวมทั้งใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กร EA...

Digital Transformation จาก “แนวคิด” สู่ “การปฏิบัติ”

จากบทความที่ผ่านมาทั้ง 3 บทความเกี่ยวกับการทำ Digital Transformation หรือ DT น่าจะทำให้องค์กรได้ภาพรวมครับว่าตกลงแล้ว DT คืออะไร? ทำไมองค์กรควรให้ความสนใจกับแนวคิดนี้? และถ้าสนใจที่จะทำ DT แล้วจะมีประเด็นสำคัญอะไรบ้างที่ควรให้ความสนใจ? จากทั้ง 3 บทความดังกล่าวก็นำมาสู่คำถามที่น่าจะสำคัญที่สุดคือ “แล้วจากแนวคิดทั้งหมดที่กล่าวมา องค์กรควรทำอย่างไรถ้าสนใจจะลงมือทำ DT จริงๆ?” เช่นเดิมครับ ก่อนอื่นเราไปดูตัวอย่างแนวคิดการนำ DT สู่การปฏิบัติจริงครับว่าองค์กรต่าง ๆ ที่ทำวิจัยเรื่องเหล่านี้มีข้อแนะนำอย่างไร แล้วเรามาวิเคราะห์กันครับว่าสรุปแล้วจากแนวคิดต่าง ๆ ที่พบ ตกลงแล้วองค์กรควรทำอย่างไรครับ . ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติ? จากที่ทราบกันจาก 3 บทความที่ผ่านมาว่าการทำ DT นั้นเกี่ยวข้องกับทั้งด้าน technical และ non-technical ขององค์กร ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่การทำ DT นั้นจะมีความสลับซับซ้อนในระดับที่องค์กรควรที่จะมีแผนการดำเนินงานและ/หรือ blueprint ที่สามารถใช้เป็นภาพรวมให้ทุกคนในองค์กรได้เห็นถึงทิศทางและกิจกรรมต่าง...