Merlin's Solutions International | บทความ
3
bp-legacy,archive,paged,category,category-articles,category-3,paged-4,category-paged-4,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

บทความ

Carbon Credit คืออะไร ?

เมื่อพูดถึง Mega Trend ในปัจจุบันคงไม่พูดถึงเรื่องของ “สิ่งแวดล้อม” 🌱 ไม่ได้ เพราะไม่ว่าในทุกประเทศหรือทุกภาคส่วนก็กำลังช่วยกันรณรงค์เพื่อแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ขยะล้นโลก สภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่ และมีผลกระทบไปทั่วโลก ใน Topic นี้เราจะมาคุยกันถึงเทคโนโลยีหนึ่งที่มีบทบาทในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโลกได้ ทุกวันนี้หลายคนคงจะมีการใช้บัตรเครดิตสำหรับการใช้จ่ายแทนเงินสดในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องปกติ แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากบัตรเครดิตแล้ว ยังมีคำว่า “คาร์บอนเครดิต” ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในปัจจุบัน หากเราเข้าใจคำว่า “บัตรเครดิต” 💳 คือบัตรที่ใช้แทนเงินแล้วล่ะก็ คำว่า “คาร์บอนเครดิต”  ก็มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งคาร์บอนเครดิตนั้นหมายถึงการใช้คาร์บอนแทนเงินสดนั่นเอง โดยเครดิตที่ว่าเกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม หากเราสามารถลดได้มากก็จะได้รับสิทธิสำหรับนำไปแลกกลับมาเป็นเงินได้ ซึ่งสิทธินี้เราสามารถวัดได้จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละองค์กรสามารถลดได้ต่อปี หรือการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกต้นไม้ที่ส่งผลให้ก๊าซเรือนกระจกลดลง ❓คำถาม แล้วเราจะวัดจากอะไรล่ะว่าเราทำแล้วได้คาร์บอนเครดิตเท่าไหร่? 🌳คำตอบ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) จะเป็นผู้คำนวณคาร์บอนเครดิตให้ โดยคำนวณจากข้อมูลที่เราส่งไป เช่น ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยน้อยกว่าสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาล ปริมาณหรือขนาดของต้นไม้ที่ปลูก ข้อมูลนี้ อบก. จะคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตและสามารถแลกเป็นเงิน รวมถึงสามารถซื้อ-ขายให้กับองค์กรอื่นได้ด้วยนะ หากเรามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินกว่าสิทธิที่ได้รับต่อปีก็สามารถไปซื้อสิทธิเพิ่มจากองค์กรอื่น ๆ...

Top Strategic Technology Trends 2023 By Gartner

Gartner Top Strategic Technology Trends ในปี 2023 แบ่งออกเป็น Theme ได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ Optimizing, Scale และ Pioneer Theme 1 Optimizing การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบไอทีให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความคุ้มค่าในการใช้งาน โดยจะประกอบไปด้วย Digital Immune System (DIS) คือ การผสมผสานกลยุทธ์ทางสาขาวิศวกรรมด้านซอฟต์แวร์ที่หลากหลายเข้าด้วยกัน อาทิ ระบบสังเกตการณ์ ระบบอัตโนมัติ และการทดสอบขั้นสูงต่าง ๆ เพื่อยกระดับการป้องกันความเสี่ยงในด้านปฏิบัติการและความปลอดภัย หรือเรียกอีกอย่างว่า “ระบบภูมิคุ้มกันด้านดิจิทัล” โดยจะเปรียบได้กับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ระบบ ซึ่งการใช้เทคโนโลยี DIS เข้ามาช่วยในการเตรียมความพร้อมก่อนลงมือใช้งานระบบจริง จะสามารถสร้างความยืดหยุ่นให้กับการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อการบริการหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ขององค์กรให้พร้อมสำหรับการรับมือกับความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นได้ Applied...

COBIT-2019 Core Model (แบบหลักของ COBIT-2019)

🏛 COBIT-2019 Core Model (แบบหลักของ COBIT-2019) 🏛      การธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักการ COBIT-2019 มีความครอบคลุมในหลากหลายประเด็นที่สำคัญและที่จำเป็นสำหรับองค์กร โดยประเด็นต่าง ๆ นั้นจะถูกจัดหมวดหมู่ตามระดับการบริหารจัดการและวงรอบการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่ง COBIT-2019 เรียกรูปแบบนี้ว่า COBIT-2019 Core Model (แบบหลัก)       🟣ระดับการกำกับ (Governance) เป็นบทบาทของคณะกรรมการขององค์กร (Board of Directors) ในการกำหนดทิศทางการดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์องค์กร และการเฝ้าสังเกตผลสัมฤทธิ์ทั้งด้านขีดความสามารถและการสร้างผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 5 วัตถุประสงค์การกำกับ (Governance Objective) ที่ถูกจัดหมวดเข้าไว้ในกรอบการกำกับที่เรียกว่า Evaluate, Direct and Monitor (EDM)      🔵ระดับการจัดการ (Management) เป็นบทบาทของผู้บริหารองค์กร...

IT Governance (ธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศ)

IT Governance (ธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศ)       ปัจจุบันการปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นสิ่งจำเป็นของทุกๆองค์กร เพื่อให้ธุรกิจมีความคล่องตัว และสามารถแข่งขันได้ในสภาพแวดล้อมที่ลูกค้าต้องการความสะดวกรวดเร็วและบริการที่ดีเยี่ยม โดยการปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลนั้น องค์กรต้องพิจารณาทำความเข้าใจความคุ้มค่า/ผลตอบแทนของการลงทุน ต้องมีกลยุทธ์ทั้งด้านธุรกิจและด้านเทคโนโลยีชัดเจนที่ขับเคลื่อนองค์กร ต้องพิจารณาเข้าใจความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) รวมถึงต้องบริหารจัดการเรื่องปรับเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วเหมาะสมตามสถานการณ์ ซึ่งการกำกับบริหารจัดการในประเด็นต่างๆเหล่านั้น องค์กรต้องมีแนวทางของธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมสอดรับกับบริบทของแต่ละองค์กร จึงจะทำให้การปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมีความยั่งยืนและขับเคลื่อนธุรกิจได้ตามยุทธศาสตร์และมุ่งสู่เป้าหมายที่กำหนด COBIT-2019 เป็นกรอบแนวทางที่นำแนวปฏิบัติที่ดีของการธรรมาภิบาลเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละองค์กร COBIT-2019 ชัดเจนในทุกประเด็นและเป้าประสงค์ของความจำเป็นการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน อาทิ APO05-Managed Portfolio เป็นการบริหารการลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์องค์กรและสร้างความคุ้มค่าที่วัดผลได้ APO13-Managed Security เป็นการบริหารความมั่นคงปลอดภัยในองค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ต่อเนื่อง โดย COBIT-2019 ครอบคลุมทุกระดับของวงรอบตั้งแต่ระดับการกำกับดูแลโดยคณะกรรมการฯ (EDM – Evaluate, Direct and Monitor) การวางแผนและการบริหารจัดการ (APO -...

Hyperautomation EP.4 AI เกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation รวมถึง Prescriptive Analytics ?

AI เกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation รวมถึง Prescriptive Analytics ?    จากบทความก่อนหน้าเราคุยกันว่าทำไมองค์กรควรให้ความสนใจกับ Hyperautomation หรือแนวคิดการให้บริการแบบอัตโนมัติที่พยายามรวบรวมแนวคิดและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาร่วมกัน ทำงานสอดประสานกัน เพื่อการให้บริการแบบอัตโนมัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และระดับการทำอัตโนมัตินั้นมีมากน้อยขนาดไหน ในบทความนี้เราจะซูมเข้าไปและตอบคำถามสำคัญต่อจากบทความก่อนครับว่า 1. แล้ว AI มาเกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation? 2. ถ้าแนวคิดการทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เราทราบมานั้นมี 4 ระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับสูงสุดที่เรียกว่า Prescriptive Analytics (What should we do next?) นั้น AI มาช่วยอย่างไร? AI มาเกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation? เรามาย้อนไปที่นิยามกันนิดนึงครับ นิยามของ AI นั้นมีเป็นร้อยครับ แต่มีเยอะแค่ไหนนิยามเหล่านั้นมีส่วนที่คล้ายกันก็คือว่า Artificial Intelligence หรือ AI คือแนวคิดการพัฒนาระบบที่พยายาม...

Hyperautomation EP. 3 ระดับการทำงานแบบ Hyperautomation

แล้ว “ระดับการทำงานแบบอัตโนมัติ” เกี่ยวข้องกับ “ระดับของการวิเคราะห์ข้อมูล” อย่างไร? โดยทั่วไปแล้วหนึ่งในความรู้หลักในการทำ Automation ในลักษณะนี้คงไม่พ้นการ “วิเคราะห์ข้อมูล” ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบที่นักสถิติใช้กันหรือใครจะเรียกว่า Machine Learning ก็ตาม ถ้าเราพูดถึงระดับของการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งโดยปรกติแล้วแบ่งเป็นระดับได้ 4 ระดับคือ 1. Descriptive Analytics (What happened?) 2. Diagnostic Analytics (Why did this happen?) 3. Predictive Analytics (What might happen in the future?) 4. Prescriptive Analytics (What should we do next?) จากระดับของการวิเคราะห์ทั้ง 4 ข้างต้นจะพบว่าการวิเคราะห์และความคาดหวังของแต่ละระดับจะเพิ่มขึ้นตามลำดับจากการที่แค่อยากรู้ว่า “เกิดอะไรขึ้น” ไปจนถึงขั้นสูงสุดที่เป้าหมายของการวิเคราะห์คืออยากจะรู้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้อง “ควรทำอะไรต่อจากนี้”...

Hyperautomation EP.2 ระดับของการทำงานแบบอัตโนมัติและเป้าหมายในภาพรวมของ Hyperautomation

Hyperautomation EP.2 ระดับของการทำงานแบบอัตโนมัติและเป้าหมายในภาพรวมของ Hyperautomation         ในภาพรวมแล้วคำว่า Hyperautomation คือแนวคิดของการทำ automation ในองค์กรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเป็นการใช้หลากหลายแนวคิดหรือเทคโนโลยีมารวมเข้าด้วยกันทำงานร่วมกันประสานกัน ซึ่งแนวทางการใช้สิ่งต่างๆมาร่วมกันพัฒนานี้ถูกนำไปอธิบายในหลายๆบทความว่าเป็นการ Orchestrated Use of Technologies and Concepts หรือการทำงานที่สอดประสานกันของเทคโนโลยี จากหลายๆบทความพอสรุปได้ว่าระดับของการทำ Hyperautomation มีตั้งแต่การ จำเพาะเจาะจงไปที่การทำ Automation ของ Process การทำงานในองค์กร ไปจนถึงการพัฒนาระบบอัตโนมัติแบบ 360 องศาทำทุกอย่างที่ทำได้ให้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติให้หมด และถ้าเอาแนวคิดนี้มาใช้กับการให้ “บริการลูกค้า” นั่นก็จะหมายถึงการใช้บริการแบบ End-to-End หรือจะเลยไปถึง 360 องศาแบบอัตโนมัติ กล่าวคือจะไม่ใช่แค่การให้บริการใดบริการหนึ่งแล้วเสร็จ เช่น ระบบการลางานของพนักงานก็ไม่ใช่แค่เสร็จที่การส่งข้อความลาเท่านั้น แต่รวมไปถึงการให้บริการจองหมอที่พนักงานจะไปพบ พบแล้วก็ทำเรื่องเบิกกลับมาที่องค์กร รวมถึงการลงกลุ่มโรคที่พนักงานเป็นเพื่อให้ฝ่ายบุคคลได้มีข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ต่อไปว่าพนักงานส่วนใหญ่ป่วยเป็นอะไร ช่วงไหน...

เรื่องเข้าใจผิดที่คนทำสถาปัตยกรรมองค์กร (EA) ต้องรู้❗EP.3

                  ❓ MYTH: การทำ EA คือ Enterprise IS/IT Architecture ✅ REALITY: การทำ EA ต้องมีการกำกับดูแลที่ดี และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนขององค์กร 🟧 SUSTAINABILITY: EA Governance เป็นการกำกับดูแลกระบวนการพัฒนา ต่อยอด และใช้งาน EA ให้เป็นปัจจุบันและยั่งยืน For more information 📞 Tel: 02-247-7229 📧 email: sm@merlinssolutions.com...

เรื่องเข้าใจผิดที่คนทำสถาปัตยกรรมองค์กร (EA) ต้องรู้❗EP.2

                ❓ MYTH: EA รับผิดชอบจัดทำโดยหน่วยงาน IT ✅ REALITY: Enterprise IS/IT Architecture เป็นการจัดทำรายละเอียดของการพัฒนาระบบ IT ในระดับโครงสร้าง แต่ EA เป็นการแสดงโครงรูปองค์ประกอบหลัก ว่าธุรกิจส่วนใด ใช้ระบบ IT อะไร ❓ MYTH: EA สามารถทำได้เสร็จสิ้นในโครงการเดียว ✅ REALITY: EA เป็น Life Cycle ที่ต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร For more information 📞 Tel: 02-247-7229 📧 email: sm@merlinssolutions.com...

เรื่องเข้าใจผิดที่คนทำสถาปัตยกรรมองค์กร (EA) ต้องรู้❗EP.1

  ❓ MYTH: การทำ EA คือ IT Portfolio ✅ REALITY: การทำ EA การเขียนแบบเพื่อแสดงโครงรูปองค์ประกอบหลัก และความสำคัญของธุรกิจและ IT แต่ IT Portfolio แสดงถึงรายละเอียดของการพัฒนาการสร้างระบบ หรือเปรียบเสมือน BOM ❓ MYTH: การทำ EA คือ Digital Roadmap ✅ REALITY: การทำ EA จะใช้ Digital Roadmap เป็นข้อมูลตั้งต้น ในการกำหนดทิศทาง To-be Architecture For more information 📞 Tel: 02-247-7229 📧 email: sm@merlinssolutions.com ...