Merlin's Solutions International | บทความ
3
bp-legacy,archive,category,category-articles,category-3,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

บทความ

สรุปสาระสำคัญของพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

ปัจจุบันมีการนำคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนรวมถึงการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนผ่านศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวยังไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำกับดูแลในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการประกอบธุรกิจหรือการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อาจกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน ระบบเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างความเสียหายต่อประชาชนในวงกว้าง เพื่อกำหนดให้มีการกำกับดูแลและควบคุมการประกอบธุรกิจและการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ตลอดจนเพื่อรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน อันเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจที่มีศักยภาพให้มีเครื่องมือในการระดมทุนที่หลากหลาย อีกทั้งประชาชนและผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการ และป้องกันมิให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจนไปใช้ในทางมิชอบหรือกระทำการหลอกลวงประชาชน หรือเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรม จึงได้มีพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดยถูกประกาศใช้ตั้งแต่ 14 พฤษภาคม 2561 เพื่อกำกับดูแลธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และโทเคนดิจิทัล (Digital Token) ให้มีความโปร่งใสและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับนักลงทุน วัตถุประสงค์ของกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลธุรกิจและกิจกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น การระดมทุนผ่านโทเคนดิจิทัล (ICO) และการซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี เพื่อป้องกันการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในการกระทำผิด เช่น ฟอกเงินหรือหลอกลวงประชาชน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจ หน่วยงานกำกับดูแล คณะกรรมการ ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) มีหน้าที่ออกกฎเกณฑ์และกำกับดูแลธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล กระทรวงการคลัง มีอำนาจออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล นิยามสินทรัพย์ดิจิทัล • คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) หมายถึง หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือสิทธิ โทเคนดิจิทัล (Digital...

Gartner เผย! 10 เทรนด์เทคโนโลยีที่องค์กรต้องจับตามองในปี 2025 🌟

ทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง และในปี 2025 Gartner ได้เปิดเผย "Top 10 Strategic Technology Trends" ที่จะมาเปลี่ยนโฉมหน้าของการทำงานและชีวิตประจำวันของเรา! หากคุณกำลังมองหาแนวโน้มที่จะขับเคลื่อนองค์กรของคุณสู่ความสำเร็จในอนาคต บทความนี้คือคำตอบ!...

Generative AI: เข้าใจสถาปัตยกรรมของ AI จากเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

ในปัจจุบันที่เราเริ่มเห็น Generative AI เข้ามาโลดแล่นตามสังคมออนไลน์มากมาย จาก AI แบบดั้งเดิมที่เคยถูกใช้เพียงเพื่อจดจำหรือวิเคราะห์แนวโน้มของข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ มาสู่ยุคของ Generative AI ที่ถูกเพิ่มความสามารถในการคิดที่ยืดหยุ่นและสร้างสรรค์ข้อมูลใหม่ ๆ เช่น การสร้างบทความใหม่จากข้อมูลที่มีอยู่เดิม การสร้างภาพวาดศิลปะหรือภาพบุคคลที่ดูสมจริง ซึ่งเราสามารถนำมาช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานได้ด้วยการเลือกใช้สถาปัตยกรรม AI ที่เหมาะสม...

AGILE Enterprise Architecture คืออะไร

จากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการกำกับดูแลและพัฒนาองค์กรให้ตอบสนองต่อความต้องการและการแข่งขันทางด้านธุรกิจจึงได้มีการนำ Enterprise Architecture ซึ่งเป็นกระบวนการกำกับการพัฒนาด้าน IT ขององค์กรและ AGILE ที่เป็นวิธีการทำงานสำหรับการเปลี่ยนเปลี่ยนที่มีความรวดเร็วมารวมเข้าด้วยกันเป็นแนวคิดของ AGILE Enterprise Architecture (AGILE EA)...

Thailand Roadmap AI

ประเทศไทยจึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570)  เพื่อเตรียมความพร้อม สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและการแข่งขันของประเทศไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน และเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในรูปแบบของการพัฒนาแบบ  BCG Economy...

Generative AI: ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์และความแปลกใหม่

Generative AI 🤖 คือ นวัตกรรมล่าสุดในด้านปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการสร้างเนื้อหาอัตโนมัติ โดยไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลหรือกฎที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเหมือน AI แบบดั้งเดิม Generative AI ทำงานโดยการเรียนรู้รูปแบบและความสัมพันธ์ในข้อมูลเพื่อสร้างผลลัพธ์ใหม่ที่สมจริงและแตกต่างจากข้อมูลเดิม กระบวนการนี้รวมถึงการรวบรวมข้อมูล, การเลือกรูปแบบเช่น GAN หรือ VAE, การเทรนโมเดล, และการสร้างเนื้อหาใหม่ สิ่งที่ทำให้ Generative AI ต่างจาก AI แบบดั้งเดิมคือความสามารถในการสร้างความคิดสร้างสรรค์และเนื้อหาใหม่ๆ โดยอิสระ, มีความยืดหยุ่นสูง, และมักใช้การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน ตัวอย่างการใช้ Generative AI ที่น่าสนใจ ได้แก่ ChatGPT, Canva, และ Midjourney, ซึ่งเป็นการสาธิตการเปลี่ยนแปลงในโลกของ AI ที่สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์และความเป็นอิสระในการสร้างเนื้อหา, นำพาเราเข้าสู่อนาคตที่เทคโนโลยีสามารถปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ อย่างไม่สิ้นสุด...

Introduction to e-KYC

ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วสู่การทำธุรกรรมในรูปแบบดิจิทัล และแนวโน้มการเติบโตที่มากขึ้นจากการติดต่อสื่อสารผ่านโลกออนไลน์ Electronic Know Your Customer (e-KYC) จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคง...

การจัดอบรมด้านการบริหารจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) ร่วมกับ ธ.ก.ส

เมื่อวันที่ 11-12 มกราคม 2567 บริษัท เมอร์ลินส์ โซลูชั่นส์ อินเตอร์แนชั่นนัล จำกัด รวมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกันจัดอบรมด้านการบริหารจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) หลักสูตร “การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานสำหรับผู้ปฏิบัติงาน (Data Governance in Practice)” ให้กับบริกรข้อมูลประจำส่วนงานสำนักงานใหญ่ และหลักสูตร “แนะนำธรรมาภิบาลข้อมูลสำหรับบุคลากร (Introduction to Data Governance for General Staff)” ให้กับฝ่ายจัดการ ผู้บริหารและพนักงานกลุ่มเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการข้อมูล และสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีคุณภาพ โดยมี ผศ.ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี เป็นวิทยากรในการบรรยาย ณ ห้องประชุมจำเนียรสาร ชั้น 24...

Green AI EP. 7 🚛

มาถึง Ep. สุดท้ายสำหรับ Series Green AI แล้ว ในสัปดาห์ที่ผ่าน ๆ มาเราพูดถึงการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ และในภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่อุตสาหกรรมด้านพลังงาน อุตสาหกรรมการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต จะเห็นว่าแต่ละอุตสาหกรรมก็มีการประยุกต์ใช้ AI ที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้มีเหมาะสมกับตนเอง และใน Ep. สุดท้ายนี้เราจะนำเสนอการใช้ Green AI ในอุตสาหกรรมค้าปลีกและการขนส่งซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ ในอุตสาหกรรมปลายน้ำอย่างการค้าปลีก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้านั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการใช้ AI เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงเน้นไปที่การช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก จะเห็นได้จากตัวอย่างดังนี้ ลดระยะทางการขนส่งเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการขนส่งให้น้อยที่สุด ด้วยการใช้ AI ช่วยคำนวณเส้นทางในการขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายต่าง ๆ ให้มีความคุ้มค่าและระยะทางสั้นที่สุด ลดพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้ขนส่ง ด้วยการใช้ AI ช่วยให้ข้อเสนอแนะแบบ Real Time เช่น การเร่งความเร็วมากเกินไป การเบรกอย่างรุนแรง เพื่อให้ผู้ขนส่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งจะส่งผลต่อการใช้เชื้อเพลิง...