02 ก.ย. Hyperautomation EP.4 AI เกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation รวมถึง Prescriptive Analytics ?
AI เกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation รวมถึง Prescriptive Analytics ?
จากบทความก่อนหน้าเราคุยกันว่าทำไมองค์กรควรให้ความสนใจกับ Hyperautomation หรือแนวคิดการให้บริการแบบอัตโนมัติที่พยายามรวบรวมแนวคิดและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาร่วมกัน ทำงานสอดประสานกัน เพื่อการให้บริการแบบอัตโนมัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และระดับการทำอัตโนมัตินั้นมีมากน้อยขนาดไหน
ในบทความนี้เราจะซูมเข้าไปและตอบคำถามสำคัญต่อจากบทความก่อนครับว่า
1. แล้ว AI มาเกี่ยวอะไรกับ Hyperautomation?
2. ถ้าแนวคิดการทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เราทราบมานั้นมี 4 ระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับสูงสุดที่เรียกว่า Prescriptive Analytics (What should we do next?) นั้น AI มาช่วยอย่างไร?



มาลองดูภาพกว้าง ๆ ของ AI กันครับว่าทำไมถึงทำวิจัยกันมาเกินกว่า 70 ปีแต่ก็ยังมีสารพัดปัญหาที่แก้ไม่ได้ ส่วนประกอบคร่าวๆของระบบ AI จริง ๆ แล้วประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ เช่น Perception หรือระบบการรับข้อมูล, Analyzing & Reasoning หรือระบบการที่คิดต่อว่าจากข้อมูลที่รับมาแล้วมีอะไรที่สำคัญที่ควรคิดประมวลผลบ้าง, Problem Solving คือการที่ระบบรู้แล้วว่าต้องสนใจ Facts ไหนบ้างและเริ่มทำการหาทางแก้ปัญหา, Planning คือการที่ระบบวางแผนการทำเรื่องต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้, และ Acting and Learning คือการที่ระบบตอบสนองกับ input ที่ได้มาตั้งแต่ Perception โดยการทำตามแผนได้จาก Planning และที่สำคัญระบบจะต้องรอรับ Feedback จากการกระทำเพื่อเรียนรู้อีกด้วย
พอมาถึงจุดนี้ ถ้านี่คือส่วนประกอบต่าง ๆของระบบ AI ที่แท้จริงที่ไม่ใช่แค่วิเคราะห์ข้อมูลแล้วจบ แล้วการที่จะสามารถบอกกับผู้ใช้งานระบบว่าควรทำอะไรหลังจากนี้ (What should we do next?) ให้ได้นั้นดูเหมือนว่าระบบจะต้องการเกือบทุกส่วนประกอบที่กล่าวมาไม่ใช่แค่การวิเคราะห์ข้อมูลแล้วแสดงกราฟสวยๆได้แน่ๆ ส่วนที่สำคัญที่สุดคือส่วนที่เรียกว่า Reasoning หรือการ “คิด” และอาจรวมไปถึง Problem Solving หรือการ “แก้ปัญหา” ครับ ก่อนที่ระบบจะสามารถ Recommend อะไรออกมาได้ ลองพิจารณาหนึ่งในตัวอย่างที่ระบบ AI ที่มีส่วนประกอบต่างๆนี้มาช่วยครับ ระบบ AI ที่ช่วยแนะนำลูกค้าของธนาคารควรที่จะได้คำแนะนำให้ใช้บริการไหนของธนาคาร? ระบบ AI โดยทั่วๆที่ทำได้ปัจจุบันหยุดแค่การพิจารณาว่าลูกค้าควรได้รับการอนุมัติสินเชื่อที่ขอมาหรือไม่โดยใช้ระบบเช่น Scoring System ถ้าลูกค้าขอซื้อบ้านราคา 8 ล้านแต่ถ้าเครดิตเค้าไม่ผ่านเพราะรายได้ไม่ถึง ระบบควรจะคิดนำเสนอสินเชื่อหรือบริการอะไรให้กับเค้าถ้าดูแล้วว่าทุกอย่างเค้าดีหมดเสียแค่รายได้ไม่ถึงเท่านั้น? หรือระบบควรจะบอกให้เค้าไปหาใครมากู้ร่วม? คำแนะนำต่างๆที่ดูเหมือนจะธรรมดาของเจ้าหน้าที่แต่ระบบที่สามารถทำได้แค่วิเคราะห์ข้อมูลจะไม่สามารถให้คำแนะนำได้แน่ ๆ เพราะระบบเหล่านั้นจะไม่มีความสามารถด้าน Reasoning และ Problem Solving อย่างที่กล่าวมาข้างต้น

ดูเหมือนว่าแนวคิดของการให้บริการที่ใช้แนวคิดของ Hyperautomation นั้นจะเป็นทิศทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับธุรกิจหรือแม้แต่ภาครัฐ สำหรับผู้บริหารแล้วท่านมี 2 คำถามหลักที่ท่านต้องตอบ
2. จะทำแค่บางส่วน หรือจะทำแบบ End-to-End? ซึ่งสำหรับคำถามนี้ถ้าเป็นไปได้ End-to-End คือทางเลือกที่ควรทำที่สุดเพราะบ่อยครั้งที่การลงทุนในเทคโนโลยีนั้นสูญเปล่าเพราะลูกค้ามองว่าระบบใหม่เค้าต้องเรียนรู้การใช้งานแต่ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก
ซึ่งในกรณีที่ต้องการระบบทำไปจนถึงแนะนำให้ลูกค้าทำอะไรหลังจากนั้น ๆ คงต้องพิจารณาดี ๆ ครับว่าระบบจะสามารถแนะนำได้หรือไม่ถ้าแค่สามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้เท่านั้นครับ หรือจริงๆแล้วท่านควรพิจารณาระบบ AI แบบเต็มระบบ?
☎ สนใจข้อมูล/บริการเพิ่มเติมติดต่อ 022477229
✉ e-Mail : sm@merlinssolutions.com
✉ e-Mail : sm@merlinssolutions.com
No Comments