Merlin's Solutions International | Hyperautomation EP. 3 ระดับการทำงานแบบ Hyperautomation
16565
bp-legacy,post-template-default,single,single-post,postid-16565,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

Hyperautomation EP. 3 ระดับการทำงานแบบ Hyperautomation

26 ส.ค. Hyperautomation EP. 3 ระดับการทำงานแบบ Hyperautomation

301264013_5613292432026494_6907337736529646913_nแล้ว “ระดับการทำงานแบบอัตโนมัติ” เกี่ยวข้องกับ “ระดับของการวิเคราะห์ข้อมูล” อย่างไร?
โดยทั่วไปแล้วหนึ่งในความรู้หลักในการทำ Automation ในลักษณะนี้คงไม่พ้นการ “วิเคราะห์ข้อมูล” ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบที่นักสถิติใช้กันหรือใครจะเรียกว่า Machine Learning ก็ตาม
ถ้าเราพูดถึงระดับของการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งโดยปรกติแล้วแบ่งเป็นระดับได้ 4 ระดับคือ
❤️ 1. Descriptive Analytics (What happened?)
🧡2. Diagnostic Analytics (Why did this happen?)
💛3. Predictive Analytics (What might happen in the future?)
💚4. Prescriptive Analytics (What should we do next?)
จากระดับของการวิเคราะห์ทั้ง 4 ข้างต้นจะพบว่าการวิเคราะห์และความคาดหวังของแต่ละระดับจะเพิ่มขึ้นตามลำดับจากการที่แค่อยากรู้ว่า “เกิดอะไรขึ้น” ไปจนถึงขั้นสูงสุดที่เป้าหมายของการวิเคราะห์คืออยากจะรู้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้อง “ควรทำอะไรต่อจากนี้” ซึ่งเมื่อพิจารณาระดับของการวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 4 ระดับนี้กับแนวคิดของการทำ Hypertuatomation จะค่อนข้างที่จะชัดเจนว่าไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรในการพัฒนาระบบที่ทำ hyperautomation แต่ระบบดังกล่าวต้องมีการนำแนวคิดการวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 4 ระดับมาเป็นส่วนประกอบค่อนข้างแน่นอนเพราะระดับต่างๆของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำ automation เช่น จากสิ่งที่ลูกค้าทำ ตอนนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง? แล้วจากการซื้อหรือการกระทำที่เกิดขึ้น น่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น? และสุดท้ายแล้วระบบควรจะนำเสนอสินค้าหรือบริการอะไรที่จะตรงความต้องการ?
———————————————————-
ระดับการทำงานอัตโนมัติในองค์กรหรือในการให้บริการ
        นอกจาก Keyword คือคำว่า Automate Everything that can be Automated ถ้าเราสังเกตทิศทางในการให้บริการในปัจจุบันจากการเอาสมุดไปถอนเงิน เปลี่ยนมาเป็นบัตร ATM มาจนถึงการถอนเงินโดยการใช้แค่การ Scan ใบหน้า หรือรถยนต์จากที่ต้องตรวจสอบสารพัดเองโดยช่าง ปรับมาเป็นตรวจสอบโดยระบบทั้งหมด มาจนถึงระบบสามารถส่งข้อมูลสิ่งที่จะต้องบำรุงรักษามาให้ศูนย์บริการได้เอง จาก 2 กรณีดังกล่าวสิ่งหนึ่งที่ชัดเจนมาก ๆ คือ Input จากผู้ใช้ระบบจะลดลงไปเรื่อย ๆจนถึงไม่ต้อง Input เลย จนมีคำพูดที่ว่าการออกแบบระบบในปัจจุบันคือการทำยังไงก็ได้ที่เอาใจคนที่ขี้เกียจมากที่สุดเท่าที่จะทำได้301358548_5613292412026496_7100290144112794938_n
จากตัวอย่างทั้ง 2 ข้างต้นของการให้บริการลูกค้าเมื่อเราพิจารณาร่วมกับระดับของการวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 4 ระดับ จะสามารถมองภาพของระดับการทำงานแบบอัตโนมัติในองค์กรได้ 2 ระดับกว้างๆคือ
🤖 1. Reactive ซึ่งหมายถึงระบบที่ทำ Automation ในระดับแค่การตอบสนองต่อ Input ที่ผู้ใช้ระบบใส่เข้ามาเท่านั้น เช่น ระบบทำการโอนเงินของเราไปให้บริษัท ABC ตามที่เรากำหนดให้โอน
🔮2. Proactive ระบบในระดับนี้จะรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละ transaction และทำการคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น รวมถึงเสนอบริการที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ใช้งาน เช่น ระบบทำการโอนเงินของเราไปให้บริษัท ABC และระบบนำเสนอการทำ Transaction อื่นที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ เช่น ถ้าเราโอนเงินไปให้บริษัท ABC ซึ่งเป็นบริษัทขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบก็นำเสนอการขยายประกันของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นไปได้ หรือแม้แต่การนำเสนอการบริการรับและนำสินค้ามาติดตั้งให้กับลูกค้า ในช่วงวันและเวลาที่ระบบดูแล้วจากปฏิทินของลูกค้าแล้วว่าสะดวก เป็นต้น
☎ สนใจข้อมูล/บริการเพิ่มเติมติดต่อ 022477229
✉ e-Mail : sm@merlinssolutions.com

Comments

comments

No Comments

Post A Comment