Merlin's Solutions International | ประเด็นสำคัญของ Digital Transformation
16428
bp-legacy,post-template-default,single,single-post,postid-16428,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

ประเด็นสำคัญของ Digital Transformation

04 ต.ค. ประเด็นสำคัญของ Digital Transformation

       แล้วเราก็มาถึงบทความที่ 3 ซึ่งเป็นบทความสรุปเกี่ยวกับ Digital Transformation หรือ DT โดยหลังจากที่เรารู้กันละครับว่าหลัก ๆ แล้ว DT คือ “การที่องค์กรใช้ digital technologies เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายใน และ/หรือ ใช้เพื่อพัฒนาบริการหรือแม้แต่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับลูกค้า” และเหตุผลหลักที่ทำให้องค์กรต้องให้ความสนใจกับ DT ก็เพราะ “พฤติกรรมและความคาดหวังของทั้งภายในองค์กร และของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างมากจนแนวทางปฏิบัติเดิม ๆ ไม่สามารถตอบสนองได้” – ในบทความนี้ซึ่งเป็นบทความปิดท้ายของบทความสั้นเกี่ยวกับ DT เรามาดูกันครับว่า แล้วถ้าองค์กรสนใจที่จะปรับเปลี่ยนโดยใช้แนวคิดของเจ้า DT นี้จะมีประเด็นสำคัญ ๆ อะไรบ้างที่ควรจะรู้เพื่อให้การทำ DT ในองค์กรนั้นได้ผลตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ครับ

.244422250_4610028285686252_1302306014561461120_n
       อะไรคือประเด็นสำคัญสำหรับ DT? เช่นเดียวกับ 2 บทความของ DT ที่ผ่านมา ในภาพรวมแล้วมีผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญสำหรับการทำ DT ไว้มากมายครับ โดยเริ่มมาจากประเด็นที่สำคัญมาก ๆ ที่เราเคยพูดถึงไว้คือกรณีของบทความของ Harvard Business Review ที่นำเสนอว่า หัวใจของการทำ DT นั้นไม่ใช่ว่าใครจะใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่ากันแต่ความสำเร็จของการทำนั้นขึ้นอยู่กับ “วัฒนธรรมองค์กร” และ “แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง” หรือ mindset ของผู้บริหารและทุกภาคส่วนขององค์กร นอกจากประเด็นดังกล่าว บทความที่เกี่ยวกับการผิดพลาดของโครงการ DT ที่ถูกนำเสนอโดยหนึ่งในนิตยสารดังของโลกบอกว่าโครงการส่วนใหญ่ที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะการที่องค์กรมีความคิดแบบเก่าคือผู้บริหารระดับสูงไม่สนใจโครงการ ปล่อยให้ผู้บริหารระดับกลางที่มีแนวคิดแบบ command-and-control เป็นผู้กำหนดทิศทางของโครงการโดยที่ผู้ปฏิบัติงานจริงมีส่วนในการให้ความคิดเห็นน้อยมาก
       นอกจากนี้อีกหนึ่งบทความที่เขียนโดยกลุ่มที่ปรึกษาขององค์กรระดับโลกได้สรุปประเด็นสำคัญที่ทำให้โครงการ DT ไม่ประสบความสำเร็จคือ การที่ผู้บริหารระดับสูงด้วยกันเองไม่สามารถตกลงกันได้ว่า “อะไรคือคำว่า ‘สำเร็จ’ ของโครงการ DT” ซึ่งบทสรุปคล้าย ๆ กันถูกสรุปไว้โดยองค์กรที่มีชื่อเสียงด้านการทำ DT ว่าประเด็นสำคัญคือ ความไม่ชัดเจนของเป้าหมายของโครงการ ผู้บริหารระดับสูงไม่ให้ความสนใจกับโครงการ และการให้ความสนใจเทคโนโลยีที่สนใจใช้เป็นหลักแทนที่จะสนใจว่าต้องการให้องค์กรเปลี่ยนแปลงเพื่อเป้าหมายอะไร? และจากมุมมองธุรกิจแล้วอยากเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
.
       ภาพรวมที่วิเคราะห์ได้จากแนวคิดต่าง ๆ จากภาพรวมของประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการ DT ที่องค์กรควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะจากประสบการณ์ของผู้เขียนบทความทั้งหมดที่ทำเกี่ยวกับการทำโครงการ DT ในหลากหลายธุรกิจทั่วโลกจะพบภาพที่คล้ายกันว่า 1) ดูเหมือนว่า “การมีภาพหรือเป้าหมายที่ชัดเจนว่าอะไรคือคำว่า สำเร็จ ของโครงการ DT” นั้นเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทุกท่านพูดถึง นอกจากนั้นแล้ว 2) การที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรไม่ให้ความสนใจกับโครงการก็เป็นประเด็นที่พูดถึงในทุกบทความเช่นกัน เพียงแต่จะบอกเป็นทางตรงหรืออ้อมเท่านั้น และประเด็นท้ายสุดแต่ก็สำคัญไม่แพ้กันคือ 3) การที่ทุกคนทั้งผู้บริหารไปจนถึงผู้ปฏิบัติงานควรที่จะให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการจะให้เกิดขึ้นมากกว่าการให้ความสนใจกับเทคโนโลยีที่จะใช้ นอกจากนั้นประเด็นที่ถูกพูดถึงโดยหนึ่งในบทความ แต่ก็เป็นประเด็นที่สำคัญคือการที่ผู้บริหารที่รับผิดชอบโครงการมี mindset แบบเดิม ๆ คือ ต้องการที่ command-and-control ทุกอย่างโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานจริงหน้างานให้ความคิดเห็นหรือให้ก็น้อยมาก
       ถ้าเราวิเคราะห์ทั้ง 3-4 ประเด็นดังกล่าวแล้วจะเห็นภาพหนึ่งค่อนข้างชัดครับ… ดูเหมือนว่าการให้ความสำคัญกับโครงการ DT ของตัว “ผู้บริหาร” เองสามารถมองได้ว่าเป็นประเด็นหลักที่มีผลกับความสำเร็จของโครงการ ไม่ใช่การมองแต่เทคโนโลยี ทั้งนี้เพราะถ้าผู้บริหารให้ความสำคัญกับโครงการ และถ้าท่านพร้อมที่จะเปลี่ยน mindset ว่าจะต้องลดแนวคิดของ command-and-control ลง ประเด็นทั้ง 3-4 ประเด็นที่ว่าก็น่าจะสร้างปัญหาให้กับโครงการน้อยลงไปมาก โอกาสที่โครงการจะประสบความสำเร็จก็จะสูง
.
       สรุปแล้วอะไรคือประเด็นหลักที่องค์กรต้องคำนึงถึง? ชัดเจนว่าโดยสรุปแล้วในเมื่อความสำเร็จของโครงการ DT ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเทคโนโลยีเท่านั้น แต่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับทิศทาง (หรือ ผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ) ซึ่งบ่อยครั้งทิศทางหรือผลลัพธ์เหล่านั้นต้องเกิดจากการเปลี่ยนอย่างมากกับองค์กร เช่น ปรับหรือยุบกระบวนการทำงานที่เคยทำมาตั้งแต่ตั้งองค์กร เปลี่ยนแนวคิดในการให้บริการ เปลี่ยนรูปโฉมของผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่สร้างหรือทำผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่เคยทำมาก่อน ไม่แปลกครับที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องการความสนใจอย่างมากจากผู้บริหาร และที่สำคัญ mindset ของผู้บริหารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้นก็จะต้องเปลี่ยนเช่นกัน ไม่เช่นนั้นประเด็นต่าง ๆ 3-4 ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้โครงการ DT ไม่ประสบความสำเร็จค่อนข้างแน่นอน

Comments

comments

No Comments

Post A Comment