Merlin's Solutions International | กฎหมายกับ AI
16102
bp-legacy,post-template-default,single,single-post,postid-16102,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-9.1.2,wpb-js-composer js-comp-ver-4.9.2,vc_responsive

กฎหมายกับ AI

21 ม.ค. กฎหมายกับ AI

AI คืออะไร ?

AI (Artificial Intelligence) คือ โปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความฉลาด มีความสามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้ บนคอมพิวเตอร์ที่สร้างความฉลาดที่เหมือนมนุษย์มีการคิดวิเคราะห์คล้ายกับมนุษย์ระดับหนึ่งโดยใช้หลักการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นหลักปัจจุบันความฉลาดของ AI ทำให้มนุษย์หลาย ๆ คนเริ่มเชื่อถือและยอมรับมากขึ้น ต้องกล่าวแนะนำเทคโนโลยี AI เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบกันก่อน หลายท่านอาจคิดว่าเทคโนโลยี AI นั้น พึ่งมีมาไม่นานนี้แต่ทุกอย่างไม่ได้เป็นอย่างนั้น โดย AI มีมา 62 ปีแล้วประมาณตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 ในการประชุม “Dartmouth Conferences” ได้ถือกำเนิดคำว่า “Artificial Intelligence”

เพราะอะไรจึงมีกฎหมายควบคุม AI และ มนุษย์ได้รับผลกระทบจาก AI ด้านไหนบ้าง ?

ยุคที่ผ่านมามนุษย์อาจได้รับผลกระทบจากหุ่นยนต์ที่เข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ หลังจากยุคนั้นถึงปัจจุบัน โลกเริ่มใช้หุ่นยนต์ที่มี AI ในการดำเนินงานหลักเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการหลายรายมองเห็นถึงความฉลาดและประหยัดต้นทุนเพื่อกำไรเพิ่มขึ้น แต่มีมนุษย์ไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยี AI อาทิเช่น

1.ด้านอาชีพในบางสาขาอาชีพที่จะถูกทดแทนจากเทคโนโลยี AI เพราะ AI มีการคิดวิเคราะห์ที่รวดเร็วกว่าประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าอาชีพที่จะถูกแทนที่โดย AI อาทิเช่น นักข่าว นักวิเคราะห์ เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร พนักงานขายในร้านค้าปลีก เป็นต้น

2.ด้านอันตรายเนื่องจาก AI ยังไม่ได้จัดอยู่ในสภาพบุคคล ถ้าหากเกิดเหตุอันตรายอันเนื่องมาจากความผิดพลาดของ AI ก็ยากต่อการดำเนินการตามกฎหมายแต่สามารถดำเนินการกับเจ้าของผู้ผลิต AI ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจมีกฎหมายใหม่เพิ่มเติม หากมีเราจะอัพเดตให้ทันที

มนุษย์ได้ประโยชน์อะไรจากเทคโนโลยีAI ?

01ด้านชีวิตประจำวัน

ชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอด 24 ชั่วโมง มนุษย์อาจไม่มีเวลาทำในบางสิ่งบางอย่างได้ตลอดทั้งวัน แต่จะมีเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยได้ เช่น Google Home บ้านจะมีความปลอดภัยภายในและภายนอกบ้าน และยังเป็นผู้ช่วยในการตัดสินใจคอยดูแลบ้านให้เรามีการแจ้งเตือนต่าง ๆ บอกอุณหภูมิ สภาพอากาศภายนอก ควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้าน และยังมีการพูดคุยที่เป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

 

02ด้านธุรกิจ

          หากมองในด้านการแข่งขันทางธุรกิจสถานประกอบการใดนำระบบ AI เข้าไปใช้ก็จะทำให้เกิดความได้เปรียบ เพราะผลการดำเนินงานถูกวิเคราะห์โดย AI ทำให้สามารถกำหนดทิศทางองค์กรปัญหาที่มีและพยากรณ์ผลการดำเนินงานข้างหน้าได้ เพื่อให้ในการวางแผนและนโยบายในอนาคตขององค์กร

 

 

003-government-buildingsด้านรัฐบาล

รัฐบาลสามารถนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินการคลัง การจัดสรรทรัพยากร การประมาณการทางเศรษฐกิจ และวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ภายในประเทศ แต่ทั้งนี้ต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ทุกภาคส่วน และต้องจัดทำ Digital transformation ข้อมูลจากหลาย ๆ ภาคส่วนถูกวิเคราะห์เพื่อองค์กรหรือสถานประกอบการในไทยจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ประเทศไทยจึงจะมีความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด

 

AI อยู่จุดไหนแล้ว ?

หากเราเปรียบเทียบ AI กับความสามารถของมนุษย์แล้วบางอย่างยังแทนเราไม่ได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อไม่นานมานี้มีการพัฒนาหุ่นยนต์ AI เธอชื่อ โซเฟียเป็นหุ่นยนต์ AI คนแรกที่ได้รับสัญชาติ ได้ถูกประกาศว่าเป็นพลเมืองคนหนึ่งของประเทศซาอุดิอาระเบียแล้ว เป็นหุ่นยนต์ตัวแรกของโลกที่ได้รับสัญชาติการเป็นประชากร จุดเด่นของเธอคือความเหมือนมนุษย์ทั้งรูปร่าง และพัฒนาให้มีความรู้สึกนึกคิดความคิดสร้างสรรค์ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุดโดยผิวหนังทำจากซิลิโคนที่ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วมีความสมจริงอย่างมากและสามารถแสดงสีหน้าได้ถึง 62 รูปแบบ จากกรณีของโซเฟียผมว่า AI จะพัฒนาและแทนมนุษย์ในหลากหลายทักษะมากขึ้นเรื่อยๆ

04

รูปหุ่นยนต์ AI ชื่อโซเฟีย

ที่มา : https://brandinside.asia/sophia-ai-robotics/

แนวทางการร่างกฎหมายควบคุม AI ประเทศไทย  อาเซียน  ยุโรป ?

ทุกวันนี้ AI มีหลากหลายรูปแบบมาก ๆ ทั้งเป็นในรูปแบบโปรแกรมหุ่นยนต์หรือถูกฝังในซิปโปรเซสเซอร์ หากกล่าวถึงเรื่องการร่างกฎหมายควบคุมก็คงยังมีช่องโหว่ สิ่งที่น่ากังวลในสถานการณ์ตอนนี้คือ อัตราการว่างงานจะเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ อะไรจะได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยี AI บ้าง และเราจะปรับตัวอย่างไร ป้องกันสิ่งที่ไม่คาดคิดจาก AI ได้ยังไงบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีออกกฎหมายให้รองรับอยู่เสมอ ถึงจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมเทคโนโลยี AI ที่นี้จะกล่าวถึงแนวทางด้านกฎหมายควบคุม AI ทั้งในประเทศไทยภูมิภาคอาเซียนและกฎหมายควบคุม AI ของสหภาพยุโรปเพื่อเป็นกรณีศึกษาในการนำไปปรับใช้แต่ละประเทศ เพื่อให้สามารถป้องกันเหตุไม่คาดคิดจากเทคโนโลยี AI โดยมีการสรุปเนื้อหาบทความจากหลากหลายแหล่งความรู้ทั้งด้านกฎหมายและบทความเกี่ยวเนื่องกันกับเทคโนโลยีAI จึงได้สรุปเป็นตารางได้ดังนี้

ตาราง_06

สรุปกฎหมายกับ AI

จากการศึกษากรณีแนวทางการร่างกฎหมาย AI ในประเทศไทยอีกทั้งในอาเซียนและสหภาพยุโรป พบว่าส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงกระบวนการทำงานและรูปแบบการทำงานของ AI อย่างแท้จริง จึงยากที่จะออกร่างกฎหมายที่ออกมาควบคุม AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทางยุโรปมีองค์ความรู้เกี่ยวกับ AI มากกว่าอาเซียนอยู่ในระดับหนึ่งจึงร่างกฎหมายได้ครอบคลุมถึงกระบวนการพัฒนาระบบ อัลกอลิทึม และสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ต่างๆ พร้อมแนวทางการพัฒนาที่จะทำให้พลเมืองของตนปลอดภัยจาก AI หรืออยู่ร่วมกับ AI ได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย หากมองในการพัฒนาของอาเซียนมองด้านความปลอดภัยของพลเมืองเป็นหลักแต่ทั้งสองทวีปร่วมถึงประเทศไทยยังมองว่า AI เป็นรูปแบบสินค้าชนิดหนึ่งที่ต้องมีเจ้าของหากสินค้าดังกล่าวก่อความเสียหายใด ๆเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องรับผิดชอบหรือผู้ผลิตและออกแบบอัลกอลิทึม AI ที่เป็นปัญหานั้น ๆ

07

ที่มา : © iStock/Devrimb

เช่น รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autopilot) ไปชนคนที่กำลังข้ามถนนนั้นเท่ากับว่าเจ้าของรถคนนั้นต้องรับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งที่ตนไม่ได้ขับนี้เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ต้องออกกฏหมายมาเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งประดิษฐ์ที่ทรงปัญญาเพื่อความปลอดภัยของประชาชนพลเมือง

จากบทความที่กล่าวมาในข้างต้น กฎหมายควบคุม AI นั้นยังเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับสังคมไทย แต่ถึงอย่างไรเราก็ต้องมีการรองรับทั้งในผลดีและผลเสียที่จะตามมาของ AI เมอร์ลินส์พร้อมเสมอที่จะนำพาองค์กรของท่านก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยีล้ำยุคสมัยใหม่เราเป็นที่ปรึกษาที่เคียงข้างท่านเพียงท่านติดต่อเราพร้อมเสมอ

แหล่งอ้างอิง
กฎหมายกับการคุ้มครองปัญญาประดิษฐ์ ตอนที่ 1 แนวคิดและกฎหมายเปรียบเทียบ
https://bit.ly/2U3zwhr
https://bit.ly/2DqQL6X
https://bit.ly/2TZhgG6

Comments

comments

No Comments

Post A Comment